โครงสร้างและอำนาจหน้าที่

อำนาจหน้าที่ฝ่ายบริหาร
* อบต. มีนายก อบต. 1 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือหรือผู้บริหารท้องถิ่น : ดำรงตำแหน่งนับแต่วันเลือกตั้งและมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง
      * นายก อบต. สามารถแต่งตั้งรองนายก อบต. ซึ่งมิใช่สมาชิกสภา อบต. ได้ไม่เกิน 2 คน : แต่งตั้งเลขานุการนายก อบต. ซึ่งมิได้เป็นสมาชิกสภา อบต. หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐได้ 1 คน
อำนาจหน้าที่ของนายกอบต.
1. ก่อนเข้ารับหน้าที่ นายก อบต. ต้องแถลงนโยบายต่อสภา อบต. โดยไม่มีการลงมติ หากไม่สามารถดำเนินการได้ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งต่อสมาชิกสภา อบต. ทุกคน และจัดทำรายงานแสดงผลการปฏิบัติงานตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ต่อสภา อบต. เป็นประจำทุกปี (มาตรา 58/5)
2. มีอำนาจหน้าที่ ตามมาตรา 59 ดังนี้
(1) กำหนดนโยบายโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย และรับผิดชอบในการบริหารราชการของ อบต. ให้เป็นไปตามกฎหมาย นโยบาย แผนพัฒนา อบต. ข้อบัญญัติ ระเบียบ และข้อบังคับของทางราชการ
(2) สั่ง อนุญาต และอนุมัติเกี่ยวกับราชการของ อบต.
(3) แต่งตั้งและถอดถอนรองนายก อบต. และเลขานุการนายก อบต.
(4) วางระเบียบเพื่อให้งานของ อบต. เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
(5) รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติ อบต.
(6) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ และกฎหมายอื่น
3. ควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารราชการของ อบต. ตามกฎหมาย และเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานส่วนตำบลและลูกจ้างของ อบต. (มาตรา 60)
4. นายก อบต. รองนายก อบต. หรือผู้ซึ่งนายก อบต. มอบหมายมีสิทธิเข้าประชุมสภา อบต. และมีสิทธิแถลงข้อเท็จจริงตลอดจนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานในหน้าที่ของตนต่อที่ประชุมแต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน (มาตรา 58/6)
5. กรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งประธานและรองประธานสภา อบต. หรือสภา อบต. ถูกยุบตามมาตรา 53 หากมีกรณีที่สำคัญและจำเป็นเร่งด่วนซึ่งปล่อยให้เนิ่นช้าไปจะกระทบต่อประโยชน์สำคัญของราชการหรือราษฎร นายก อบต. จะดำเนินการไปพลางก่อนเท่าที่จำเป็นก็ได้ แต่เมื่อได้เลือกประธานสภา อบต. แล้วให้เรียกประชุมสภา อบต. เพื่อให้นายก อบต. แถลงนโยบายโดยไม่มีการลงมติภายใน 15 วันนับแต่วันที่มีการเลือกตั้งประธานสภา อบต. (มาตรา 58/5 วรรคสอง)
6. กรณีนายก อบต. ปฏิบัติการที่อาจเสียหายแก่ อบต. หรือราชการ และนายอำเภอได้ชี้แจงแนะนำตักเตือนแล้วไม่ปฏิบัติตาม ในกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเร่งด่วนที่จะรอช้าไม่ได้ นายอำเภอมีอำนาจออกคำสั่งระงับการปฏิบัติราชการของนายก อบต. ไว้ตามที่เห็นสมควรได้ แล้วรีบรายงานผู้ว่าราชการจังหวัดภายใน 15 วัน เพื่อวินิจฉัยตามที่เห็นสมควรโดยเร็ว : การกระทำของนายก อบต. ที่ฝ่าฝืนคำสั่งนายอำเภอหรือผู้ว่าราชการจังหวัดดังกล่าว ไม่มีผลผูกพันกับ อบต. (มาตรา 90)
7. เป็นผู้เสนอร่างข้อบัญญัติ อบต. (มาตรา 71) ร่างข้อบัญญัติประมาณรายจ่ายประจำปี และร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม (มาตรา 87)
8. เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ อบต. (มาตรา 65)

อำนาจฝ่ายนิติบัญญัติ(สมาชิกสภาอบต.)
บทบาทและหน้าที่ในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งเป็นผู้ที่จะต้องตรา "ข้อบังคับตำบล" ออกมาใช้ในการดูแลสวัสดิการ ตลอดจน "ทุกข์" และ"สุข" ของประชาชนรวมทั้งมีอำนาจหน้าที่ถอดถอนผู้บริหารหรือสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ดังนั้นจึงต้อง เป็นผู้ที่ยึดมั่นในหลักการประชาธิปไตยที่ต้องเผยแพร่และปลูกฝังแนวคิดประชาธิปไตย ไปยังประชาชนในตำบล
1. เลือกประธานสภา รองประธานสภา (มาตรา 48) และ เลขานุการสภา อบต. (มาตรา 57)
2. รับทราบนโยบายของนายก อบต. ก่อนนายก อบต. เข้ารับหน้าที่และรับทราบรายงานแสดงผลการปฏิบัติงานตามนโยบายที่นายก อบต. ได้แถลงไว้ต่อสภา อบต. เป็นประจำทุกปี (มาตรา 58/5)
3. มีอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 46 ดังนี้
(1) ให้ความเห็นชอบแผนพัฒนา อบต. เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารกิจการของ อบต.
(2) พิจารณาและให้ความเห็นชอบร่างข้อบัญญัติ อบต. ร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี และร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
(3) ควบคุมการปฏิบัติงานของนายก อบต. ให้เป็นไปตามกฎหมาย นโยบาย แผนพัฒนา อบต. ข้อบัญญัติ ระเบียบ และข้อบังคับของทางราชการ
4. ในที่ประชุมสภา อบต. สมาชิกสภา อบต. มีสิทธิตั้งกระทู้ถามต่อนายก อบต. หรือรองนายก อบต. ในเรื่องใดอันเกี่ยวกับงานในหน้าที่ (มาตรา 56/1) : เสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อให้นายก อบต. แถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นในปัญหาเกี่ยวกับการบริหาร อบต. โดยไม่มีการลงมติ (มาตรา 58/7)


อำนาจหน้าที่สำนักปลัด อบต.

สำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล มีภาระหน้าที่เกี่ยวกับเอกสาร สารการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น การจัดทำร่างข้อบัญญัติ การจัดทำทะเบียนสมาชิกสภา อบต. และคณะผู้บริหาร การดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม การให้คำปรึกษาหน้าที่และความรับผิดชอบการปกครองบังคับบัญชาพนักงานส่วนตำบลและลูกจ้าง การบริหารงานบุคคลของ อบต. ทั้งหมด การดำเนินการเกี่ยวกับการอนุญาตต่าง ๆ และการปฏิบัติงานด้านสวัสดิการสังคม เกี่ยวกับการสังคมเคราะห์ การส่งเสริมการเกษตร การอนุรักษ์แหล่งน้ำ และป่าไม้ การให้คำปรึกษาแนะนำและตรวจสอบเกี่ยวกับงานสวัสดิการสังคมและ ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย แบ่งส่วนราชการภายใน ออกเป็น 5 งาน คือ
1. งานบริหารทั่วไป มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
- งานสารบรรณ
- งานบริหารงานบุคคล
- งานเลือกตั้งและทะเบียนข้อมูล
- งานตรวจสอบภายใน
2. งานนโยบายและแผน มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
- งานนโยบายและแผน
- งานวิชาการ
- งานข้อมูลและการประชาสัมพันธ์
- งานงบประมาณ
3. งานกฎหมายและคดี มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
- งานกฎหมายและคดี
- งานร้องเรียนร้องทุกข์และอุทธรณ์
- งานข้อบัญญัติและระเบียบ
4. งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเทศกิจ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
- งานอำนวยการ
- งานป้องกัน
- งานฟื้นฟู
5. งานกิจการสภาองค์การบริหารส่วนตำบล มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
- งานระเบียบข้อบังคับประชุม
- งานการประชุม
- งานอำนวยการและประสานงาน
- งานติดตามผลการปฏิบัติงานตามมติ

ร้องทุกข์ / ร้องเรียน
ขั้นตอนให้บริการ
1.ผู้ร้องทุกข์ / ร้องเรียน
- ยื่นคำร้องตามแบบ (คำร้องทั่วไป) ต่อเจ้าหน้าที่
- กรณีร้องทางโทรศัพท์เจ้าหน้าที่ผู้รับคำร้องกรอกข้อมูลตามแบบ (แบบรับคำร้องทางโทรศัพท์)
2. ส่วนงาน/หัวหน้างานที่รับผิดชอบตรวจสอบข้อเท็จจริงตามคำร้องและดำเนินการแก้ไขปัญหาตามอำนาจหน้าที่/ตามกฎหมาย
3. แจ้งผู้ร้องทุกข์
การขอข้อมูลข่าวสารตาม พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสาร พ.ศ.2540
ขั้นตอนการให้บริการ
1. ผู้ขอยื่นคำขอตามแบบ (คำร้องขอสำเนาข้อมูลข่าวสาร) ต่อเจ้าหน้าที่
2. เจ้าหน้าที่ยื่นคำขอต่อผู้บังคับบัญชา
- อนุญาต (จัดเตรียมเอกสารให้ตามคำขอ)
- ไม่อนุญาต (แจ้งผู้ทราบพร้อมเหตุผล)
เอกสารประกอบการพิจารณา
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ของผู้ที่จะขอข้อมูล

อำนาจหน้าที่กองคลัง 
กองคลัง มีภาระหน้าที่เกี่ยวกับการจัดทำบัญชีและทะเบียนรับ – จ่ายเงินงบประเภท งานเกี่ยวกับการเงิน การเบิกจ่ายเงินการ เก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน การฝากเงิน การตรวจเงิน อบต. รวบรวมสถิติ เงินได้ประเภทต่าง ๆ การเบิกตัดปี การขยายเวลาเบิก จ่ายงบประมาณ การหักภาษี และนำส่ง รายการเงินคงเหลือประจำ การรับและจ่ายขาดเงินสะสมของ อบต. การยืมเงินทดรอง ราชการ การจัดหาผลประโยชน์จากสิ่งก่อสร้างและทรัพย์สิน ตรวจสอบงานของจังหวัดและสำนักงานตรวจ เงินแผ่นดิน การเร่งรัดใบสำคัญและใบเงินยืมค้างชำระ การจัดเก็บภาษี การประเมินภาษี การเร่งรัดจัดเก็บรายได้ การพัฒนารายได้ การออกใบอนุญาตและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง และที่ได้รับมอบหมาย แบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น 4 งาน คือ

งานการเงิน มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
- งานรับเงิน - เบิกจ่ายเงิน
- งานจัดทำฎีกาเบิกจ่ายเงิน
- งานเก็บรักษาเงิน

งานบัญชี มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
- งานการบัญชี
- งานทะเบียนคุมการเบิกจ่าย
- งานงบการเงินและงบทดลอง
- งานงบแสดงฐานะทางการเงิน

งานพัฒนาและจัดเก็บรายได้ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
- งานภาษีอากร ค่าธรรมเนียมและค่าเช่า
- งานพัฒนารายได้
- งานควบคุมกิจการค้าและค่าปรับ
- งานทะเบียนเบิกควบคุมและเร่งรัดรายได้

งานทะเบียนทรัพย์สินและพัสดุ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
- งานทะเบียนทรัพย์สินและแผนที่ภาษี
- งานพัสดุ
- งานทะเบียนเบิกจ่ายวัสดุครุภัณฑ์และยานพาหนะ


    กองคลัง -คู่มือการปฏิบัติงาน

  กำหนดการยื่นแบบชำระภาษี
1. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ยื่นแบบระหว่าง เดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี
2. ภาษีป้าย ยื่นแบบระหว่าง เดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคมของทุกปี
3. ภาษีบำรุงท้องที่ (ภาษีที่ดิน) ระหว่าง เดือนมกราคมถึงเดือนเมษายนของทุกปี
การยื่นแบบภาษีโรงเรือนและที่ดิน
รวมระยะเวลาการให้บริการ (ขึ้นอยู่กับเอกสารที่เตรียมมา) 5 นาที
ขั้นตอนการให้บริการ
1. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินยื่นแบบแสดงรายการ เสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน (ภ.ร.ด.12)
2. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสาร
3. ผู้มี่หน้าที่เสียภาษีโรงเรือน และที่ดินชำระเงิน และรับใบเสร็จรับเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดิน (ภ.ร.ด.12)
เอกสารประกอบการพิจารณา
1. บัตรประจำตัวประชาชน หรือ สำเนาบัตรประชาชน
2. ใบเสร็จรับเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินปีที่ผ่านมา (ภ.ร.ด.12)
3. สำเนาสัญญาเช่าต่างๆ (ในกรณีการเช่า , ให้เช่าบ้าน , เช่าที่ดิน)
4. สำเนาทะเบียนพาณิชย์ (กรณีประกอบการค้า) สำเนาการจดทะเบียนนิติบุคคล
5. สำเนาทะเบียนบ้าน
6. สำเนาโฉนดที่ดิน
การยื่นแบบภาษีป้าย
รวมระยะเวลาการให้บริการ (ขึ้นอยู่กับเอกสารที่เตรียมมา) 5 นาที
ขั้นตอนการให้บริการ
1. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย (ภ.ป.1) พร้อมเอกสารประกอบ
2. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสาร
3. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายชำระเงินและรับใบเสร็จรับเงิน (ภ.ป.7)
เอกสารประกอบการพิจารณา
1. บัตรประจำตัวประชาชน หรือ สำเนาบัตรประชาชน
2. ใบเสร็จรับเงินค่าภาษีป้ายปีที่ผ่านมา (ภ.ป.7)
3. เอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องกับป้าย
4. ขนาดของป้าย
5. สำเนาทะเบียนบ้าน
6. สำเนาโฉนดที่ดิน
การยื่นแบบภาษีบำรุงท้องที่
รวมระยะเวลาการให้บริการ (ขึ้นอยู่กับเอกสารที่เตรียมมา) 5 นาที
ขั้นตอนการให้บริการ
1. ผู้เป็นเจ้าของที่ดินยื่นแบบ แสดงรายการที่ดิน (ภ.บ.ท.5)
2. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสาร
3. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่ชำระเงินและรับใบเสร็จรับเงินค่าภาษีบำรุงท้องที่ (ภ.บ.ท.11)
เอกสารประกอบการพิจารณา
1. บัตรประจำตัวประชาชน หรือ สำเนาบัตรประชาชน
2. ใบเสร็จรับเงินค่าภาษีบำรุงที่ดินที่ผ่านมา (ภ.บ.ท.11)
3. สำเนาทะเบียนบ้าน
4. สำเนาโฉนดที่ดิน

 อำนาจหน้าที่กองช่าง 

มีภาระหน้าที่เกี่ยวกับการสำรวจออกแบบและจัดทำโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานของ อบต. เช่น งานอาคาร ถนน สะพาน ท่อระบายน้ำ และงานชลประทาน ตลอดจน งานบำรุงรักษา ซ่อมแซม และจัดทำทะเบียนสิ่งก่อสร้างที่อยู่ในความรับผิดชอบของ อบต. การให้คำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับการจัดทำโครงการและการออกแบบก่อสร้างแก่ อบต. และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยงข้อง งานควบคุมอาคาร การดูแลควบคุมปรึกษาซ่อมแซมวัสดุครุภัณฑ์และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย โดยแบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น 4 งาน คือ 
งานก่อสร้าง มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
- งานควบคุมการก่อสร้าง สะพาน อาคาร และงานชลประทาน
- งานก่อสร้างและบูรณะถนน 
- งานก่อสร้างและบูรณะสภาพและโครงการพิเศษ 
- งานระบบข้อมูลและแผนที่เส้นทางคมนาคม 
- งานบำรุงรักษาเครื่องจักรและยานพาหนะ

งานออกแบบและควบคุมอาคาร มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
- งานสำรวจออกแบบ 
- งานสถาปัตยกรรมและมัณฑศิลป์ 
- งานวิศวกรรม 
- งานประเมินราคา 
- งานควบคุมการก่อสร้างอาคาร บริการข้อมูลและหลักเกณฑ์ 
- งานออกแบบ และเขียนแบบ
- งานควบคุมการก่อสร้างอาคารตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522
- งานตรวจตราสถานประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิง ตาม พ.ร.บ. ควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2542

งานประสานและสาธารณูปโภค มีหน้าที่ความรับผิดชอบ 
- งานซ่อมบำรุงไฟฟ้าสาธารณะ
- งานประสานและสาธารณูปโภคและกิจการประปา 
- งานขนส่งและวิศวกรรมจราจร 
- งานระบายน้ำ 
- งานจัดตกแต่งสถานที่

งานผังเมือง มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
- งานสำรวจรวบรวมข้อมูลด้านผังเมือง 
- งานสำรวจและแผนที่ 
- งานวางผังพัฒนาเมือง


กองช่าง - คู่มือการปฏิบัติงาน
   กองช่าง  มีภาระหน้าที่เกี่ยวกับการสำรวจออกแบบและจัดทำโครงการใช้จ่ายเงินของ อบต. การอนุมัติเพื่อดำเนินการตาม โครงการที่ตั้งจ่ายจากเงินรายได้ของ อบต. งานบำรุงรักษา ซ่อมแซม และจัดทำทะเบียนสิ่งก่อสร้างที่อยู่ในความรับผิดชอบของ อบต. การให้คำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับการจัดทำโครงการและการออกแบบก่อสร้างแก่ อบต. และหน่วงงานอื่นที่เกี่ยงข้อง งานควบคุมอาคาร การดูแลควบคุมปรึกษาซ่อมแซมวัสดุครุภัณฑ์และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องและงานที่ได้รับมอบหมาย แบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น 4 งาน คือ 
กองช่าง 
  มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการสำรวจออกแบบ การจัดทำข้อมูลทางด้านวิศวกรรม การจัดเก็บและทดสอบคุณภาพวัสดุ งานออกแบบและ เขียนแบบ การตรวจสอบ การก่อสร้างและซ่อมบำรุง งานแผนงานด้านวิศวกรรมเครื่องจักรกล รวบรวมประวัติติดตาม ควบคุมการปฏิบัติงาน เครื่องจักรกล การควบคุมบำรุงรักษาเครื่องจักรกลและยานพาหนะ งานเกี่ยวกับแผนงานควบคุมเก็บรักษาการเบิกจ่ายวัสดุ อุปกรณ์ อะไหล่ น้ำมันเชื้อเพลิง และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย 

การขออนุญาตก่อสร้างอาคาร
ขั้นตอนการให้บริการ
1. ผู้ขออนุญาตยื่นคำร้องขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ตามแบบคำขอ อนุญาตก่อสร้างอาคาร รื้อถอน ดัดแปลง (แบบ ข.1) พร้อมเอกสาร
2. นายตรวจ ตรวจสอบเอกสารเบื้องต้น / ตรวจสอบผังเมือง และตรวจสอบสภาพสาธารณะ 
3. นายช่าง / วิศวกรตรวจพิจารณาแบบ 
4. เจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณา คำขออนุญาตก่อสร้างอาคาร 
เอกสารประกอบการพิจารณา
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขออนุญาต 
2. สำเนาโฉนดที่ดินขนาดเท่าต้นฉบับทุกหน้า พร้อมเจ้าของที่ดินลงนามรับรองสำเนาทุกหน้า 
(กรณีผู้ขอไม่ใช่เจ้าของต้องมีหนังสือยินยอมของเจ้าของที่ดินให้ก่อสร้าง อาคารในที่ดินหรือสำเนาสัญญาเช่าที่ดิน) 
3. หนังสือยินยอมชิดเขตที่ดินต่างเจ้าของ 
4. หนังสือรับรองของผู้ประกอบการวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมของผู้ออกแบบและคำนวณโครงสร้างอาคาร 
5. หนังสือรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมของผู้ออกแบบงานสถาปัตยกรรม 
6. แผนผังบริเวณแบบแปลนและรายการประกอบแบบแปลน พร้อมรายการคำนวณโครงสร้าง 
7. รายการคำนวณระบบบำบัดน้ำเสีย (กรณีอาคารต้องมีระบบบำบัดน้ำเสีย)

การประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2
เอกสารประกอบการแจ้ง
การแจ้งการประกอบกิจการ ให้แจ้งพร้อมเอกสาร หลักฐานต่างๆตามแบบ ธพ.น.1 ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โดยแจ้งสำนักงานส่วนท้องถิ่นดังนี้
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้แจ้ง (กรณีบุคคลธรรมดา)
2. หนังสือรับรองการจดทะเบียน พร้อมสำเนารายละเอียดวัตถุประสงค์ และผู้มีอำนาจ ลงชื่อแทนนิติบุคคลที่ออกให้ไม่เกิน 180 วัน (กรณีนิติบุคคลเป็นผู้แจ้ง)
3. สำเนา โฉนดที่ดิน น.ส.3 น.ส.3ก ส.ค.1 หรือเอกสารสิทธิ์ในที่ดินอื่นๆ
4. สำเนาเอกสารแสดงว่าผู้แจ้งมีสิทธิ์ใช้ที่ดิน หรือหนังสือยินยอม ของเจ้าของที่ดิน หรือหน่วยงานที่มีหน้าที่ ดูแลรับผิดชอบที่ดิน ให้ใช้เป็นที่ตั้งสถานที่ประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 2
5. สำเนาหรือหนังสืออนุญาต พร้อมด้วยสำเนาแผนผังบริเวณที่ได้รับอนุญาตให้ผู้ขออนุญาตทำทางเชื่อมระหว่างบริเวณที่ได้รับอนุญาต กับถนนสาธารณะ ทางหลวง เพื่อใช้เป็นทางสำหรับยานพาหนะ เข้า-ออก สถานที่บริเวณน้ำมันเชื้อเพลิง
6. แผนที่สังเขปแสดงสถานที่ประกอบกิจการ พร้อมทั้งแสดงสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ภายในรัศมี 50.00 เมตร จำนวน 3 ชุด
7. แผนผังบริเวณของสถานที่ประกอบกิจการ จำนวน 3 ชุด
8. แบบก่อสร้างถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง เหมือนพื้นดินขนาดใหญ่พร้อมระบบท่อและอุปกรณ์ จำนวน 3 ชุด
9. รายการคำนวณ ความคงที่แข็งแรงของถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงเหมือนพื้นดินขนาดใหญ่ จำนวน 1 ชุด
10. หนังสือรับรองจากวิศวกรสาขาที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นผู้คำนวณความมั่นคงแข็งแรง ระบบความปลอดภัย และระบบควบคุมมลพิษของถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงเหมือนพื้นดินขนาดใหญ่ และสิ่งปลูกสร้างต่างๆ พร้อมทั้งแบบสำเนา ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม จำนวน 1 ชุด

อำนาจหน้าที่กองการศึกษา 
    มีหน้าที่รับผิดชอบ งานบริหารวิชาการศึกษา งานเทคโนโลยีทางการศึกษา งานจัดการศึกษา งานทดสอบและประเมินตรวจวัดผล งานบริการและบำรุงสถานศึกษา งานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก งานกิจการเด็กและเยาวชน 
    ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการศึกษา การส่งเสริมสนับสนุนการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และประเพณีอันดีงามของประชาชน การสนับสนุนบุคลากร วัสดุอุปกรณ์ และทรัพย์สินต่างๆ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา จัดสถานที่เพื่อการศึกษา ส่งเสริมทำนุบำรุงรักษา ไว้ซึ่งศิลปะประเพณี ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณีท้องถิ่น วัฒนธรรมด้านภาษา การดำเนินชีวิตส่งเสริมสนับสนุนการเล่นกีฬา การส่งเสริมและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว

งานบริหารการศึกษา
- งานบริหารงานบุคคล
- งานบริหารทั่วไป
- งานบริหารการศึกษา
- งานวางแผนและสถิติ
- งานการเงินและบัญชี
งานส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
- งานกิจการศาสนา
- งานส่งเสริมประเพณี ศิลปะและวัฒนธรรม
- งานกิจการเด็กและเยาวชน

งานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
- งานจัดการศึกษา
- งานทดสอบประเมินผลและตรวจวัดผลโรงเรียน
- งานบริการและบำรุงสถานศึกษา
- งานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

อำนาจหน้าที่หน่วยตรวจสอบภายใน

มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

- งานจัดทำแผนการตรวจสอบประจำปี

- งานตรวจสอบความถูกต้องและเชื่อถือได้ของเอกสารการเงิน การบัญชี เอกสารการรับ - จ่ายเงินทุกประเภท

- งานตรวจสอบการเก็บรักษาหลักฐานการเงิน การบัญชี

- งานตรวจสอบการสรรหาพัสดุและทรัพย์สิน การเก็บรักษาพัสดุและทรัพย์สิน

- งานตรวจสอบการทำประโยชน์จากทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนจังหวัด

- งานตรวจสอบ ติดตามและการประเมินผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการให้เป็นไปตามนโยบาย วัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพ

ประสิทธิผลและประหยัด

- งานวิเคราะห์และประเมินความมีประสิทธิภาพ ประหยัดคุ้มค่าในการใช้ทรัพยากรของส่วนราชการต่าง ๆ

- งานประเมินการควบคุมภายในและการประเมินด้านอื่น ๆ ของหน่วยรับตรวจ

- งานรายงานผลการตรวจสอบภายใน ตรวจนิเทศให้คำแนะนำปรึกษา เพื่อหาแนวทางแก้ไขในการปรับปรุงการปฏิบัติงานแก่หน่วยรับตรวจและผู้ที่เกี่ยวข้อง

- งานจัดฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรในเรื่องการตรวจสอบภายในและเรื่องอื่นที่จำเป็นในการปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติงาน

- งานบริการข้อมูล สถิติแก่หน่วยรับตรวจและผู้ที่เกี่ยวข้อง

- งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย

งานธุรการ

มีหน้าที่่ความรับผิดชอบ ดังนี้

- งานธุรการ

- งานสารบรรณ

- งานรับ - ส่งหนังสือ จัดทำร่าง โต้ตอบ เก็บรักษา และทำลายหนังสือ จัดทำระเบียบวาระการประชุมและรายงานการประชุม

- งานพัสดุเกี่ยวกับการจัดซื้อ - จัดจ้าง การเก็บรักษา ควบคุมดูแลพัสดุ ครุภัณฑ์ การใช้รถยนต์ส่วนกลาง

- งานดำเนินการเกี่ยวกับงานการเจ้าหน้าที่

- งานสวัสดิการของข้าราชการและพนักงานจ้าง

- จัดทำข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี โอน แก้ไขและเปลี่ยนแปลงงบประมาณ

- งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย

   

ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน

   ข้อตกลงและเงื่อนไข
รับทราบ